ในหน้า knowledge base ได้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าเกี่ยวกับทางด้านเทคนิค และช่วยลูกค้าในการหาคำตอบต่างๆเกี่ยวกับระบบต่างๆของฮูหวัก
หากลูกค้ามีคำถามอื่นๆเกี่ยวกับระบบของฮูหวักที่นอกเหนือจากในหน้าเพจนี้ ท่านสามารถส่งอีเมล์ถึงเรา หรือติดต่อผ่านทางลิงค์ด้านล่างเพื่อให้ฝ่ายเทคนิคติดต่อกลับภายใน 48 ชั่วโมง
สถานที่ๆเป็นอันตราย โดยจะแบ่งออกเป็นโซนตามความถี่ของการเกิดขึ้นและระยะเวลาของสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดการระเบิด
หมวดหมู่นี้จะทำให้เกิดขอบเขตของมาตรการที่จำเป็นตามภาคผนวก II เอกสารฉบับที่ 1999/92 / EC รวมกับภาคผนวก เอกสารฉบับ 94/9 / EC การระเบิดอาจเกิดจากก๊าซไวไฟ, ไอระเหยหรือฝุ่นที่ติดไฟได้ หากมีเพียงพอของสารที่ผสมกับอากาศแล้วทั้งหมดจะเป็นที่มาของการเผาไหม้และทำให้เกิดการระเบิด
ความรุนแรงของการระเบิดอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ วิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการลดความเสี่ยงหรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุระเบิดจากสารเคมีอันตรายคือ การป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมีอันตรายที่สามารถเกิดการระเบิด และการป้องกันตั้งแต่แหล่งกำเนิดประกายไฟ
การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมถูกต้องจะช่วยให้ทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายได้อย่างปลอดภัย อ้างอิงจากกฎหมายเรื่องการจัดจัดการและการบริหารความปลอดภัยด้านสารเคมีและสิ่งแวดล้อม 2002 (DSEAR) ที่กำหนดให้นายจ้างจะต้องมีการจัดทำระบบควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการระเบิดในสถานที่ทำงาน
ATEX เป็นชื่อของข้อกำหนดเกี่ยวกับแนวทางในการควบคุมการระเบิดที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานของยุโรป
อ้างอิงตามเอกสาร 99/92/EC (also known as 'ATEX 137' or the 'ATEX Workplace Directive') ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทางด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับพนักงานจากความเสี่ยงและความเสียหายจากการระเบิด
เอกสารฉบับที่ 94/9/EC (ในนาม 'ATEX 95' หรือ 'the ATEX Equipment Directive') ในประมวลกฎหมายของรัฐสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดการระเบิด
บรรยากาศที่เอื้อต่อการระเบิดคือการกำหนดส่วนผสมของสารที่เป็นอันตรายกับอากาศ ภายใต้สภาพบรรยากาศในรูปแบบของก๊าซหรือฝุ่นที่ฟุ้งกระจายลอยในอากาศ ซึ่งหลังจากมีการจุดระเบิดขึ้น จะทำให้การเผาไหม้จะกระจายเป็นวงกว้างลุกลามไปในอากาศจนกว่าก๊าซหรือฝุ่นที่ฟุ้งกระจายจะถูกเผาไหม้จนหมด
พื้นที่ปฏิบัติงานที่มีฝุ่นจำนวนมาก, โรงงานผลิตระเบิดหรือของเหลือจากการผลิตที่อาจเกิดการระเบิด ยกตัวอย่างเช่น งานที่ปล่อยก๊าซไวไฟหรือไอระเหย เช่น การพ่นสีรถ, การเก็บฝุ่นอินทรีย์ต่าง, โรงเก็บแป้ง ข้าวสาลี ข้าวโพด และโรงงานไม้แปรรูป
ทางฮูหวักไม่สามารถกำหนดหรือตัดสินใจเกี่ยวกับข้อกำหนดเหล่านี้ให้กับลูกค้าได้
โซน ATEX ถูกแบ่งตามพื้นที่ๆมีความถี่หรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดการระเบิด โดยพิจารณาจากปริมาณของอากาศหรือก๊าซ
ที่มีส่วนผสมของฝุ่นที่ฟุ้งกระจายในเขตพื้นที่นั้นๆ ระดับของความเสี่ยงต่อการระเบิดของแต่ละโซน ATEX
จะไม่เหมือนกันทั้งหมดทุกพื้นที่!
การประเมินและตรวจสอบระดับความเสี่ยงจะต้องมีความถูกต้อง เพราะจะมีผลกับการเลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นและอุปกรณ์แต่ละประเภท
European and IEC Classification | Definition of zone or division | North American Classification |
Zone 0 (gases / Vapors) | พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดระเบิดมากหรือมีฝุ่นที่สะสมอยู่เป็นเวลานาน | Class I Division 1 (gases) |
Zone 1 (gases / Vapors) | พื้นที่ที่มีแนวโน้มต่อการเกิดระเบิดและอาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน | Class I Division 1 (gases) |
Zone 2 (gases / Vapors) | พื้นที่ที่ไม่สามารถมีการระเบิดได้ในการดำเนินงานปกติแต่สามารถเกิดการระเบิดได้ในบางครั้ง ในระยะเวลาสั้นๆ | Class I Division 2 (gases) |
Zone 20 (dusts) | พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดระเบิดมากหรือมีฝุ่นที่สะสมอยู่เป็นเวลานาน | Class II Division 1 (dusts) |
Zone 21 (dusts) | พื้นที่ที่มีแนวโน้มต่อการเกิดระเบิดและอาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน | Class II Division 1 (dusts) |
Zone 22 (dusts) | พื้นที่ที่ไม่สามารถมีการระเบิดได้ในการดำเนินงานปกติแต่สามารถเกิดการระเบิดได้ในบางครั้ง ในระยะเวลาสั้นๆ | Class II Division 2 (dusts) |